การติดตามการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อการประกันคุณภาพการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประจำปี พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2565

  • วันที่ :30-31 สิงหาคม 2565
  • ภาพโดย :ส่วนเผยแพร่ข้อมูลด้านการกระจายอำนาจ
วันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลตำบลริมปิง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) โดยมีนายชยุต อุดมเวชชวกร ผอ.ส่วนติดตามและประเมินผล นางสาวอภิรดี ประเสริฐฤทธี ผอ.ส่วนนิติการ และเจ้าหน้าที่ สกถ. ดำเนินการติดตามการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อการประกันคุณภาพการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประจำปี พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 30 – 31 สิงหาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลตำบลริมปิง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อหารือ สอบถามเกี่ยวกับผลการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะของ อปท. ตามตัวชี้วัดที่ อปท. ดำเนินการผ่านค่ามาตรฐานขั้นต่ำ ไม่ผ่านค่ามาตรฐานขั้นต่ำ ตัวชี้วัดที่ระบุว่าไม่มีบริการสาธารณะ และตัวชี้วัดที่ระบุว่าไม่ได้ดำเนินการ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการบันทึกข้อมูลในระบบและให้คำแนะนำในการดำเนินการตามขั้นตอนด้วยวิธีการประเมินตนเองของ อปท. รวมทั้ง รับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะนำมาวิเคราะห์ และพิจารณาปรับปรุงตัวชี้วัดและค่ามาตรฐานขั้นต่ำการจัดบริการสาธารณะของ อปท. และจัดทำรายงานเสนอคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดตั้งเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการประเมินมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อการประกันคุณภาพการจัดบริการสาธารณะ และใช้ในการพิจารณากำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดบริการสาธารณะของ อปท. ให้มีผลการดำเนินงานสูงกว่าค่ามาตรฐานขั้นต่ำ
ผลการติดตาม พบว่า อปท. ทั้ง 3 แห่ง สามารถดำเนินการจัดบริการสาธารณะตามตัวชี้วัดได้ดี สำหรับตัวชี้วัดบางตัว ที่ อปท. ไม่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จึงทำให้ อปท. ไม่สามารถดำเนินงานในลักษณะกิจกรรมหรือโครงการในพื้นที่ได้และความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการรวบรวมและบันทึกข้อมูลในระบบบ ทั้งนี้ คณะติดตามได้ให้คำแนะนำในการดำเนินงาน และจะได้นำข้อเสนอแนะไปพิจารณาปรับปรุงตัวชี้วัด และนำเสนอ ก.ก.ถ. ต่อไป